• Visit Us On Facebook

AC 60/70

AC 60:70
Specification

 

 คุณลักษณะที่ต้องการ  หน่วย  มาตรฐานที่กำหนด

1. เพนิเทรชั่น (Penetration) ที่ 25 °C 

  น้ำหนักกด 100 g. เวลา 5 วินาที

0.1 mm.

60-70

2. Softening Point ไม่น้อยกว่า

°C

44-55

3. จุดวาบไฟไม่น้อยกว่า

%

 232

4. การละลายใน Trichloroethyleneไม่น้อยกว่า

cm.

99.0

5. การยืดดึง (Ductility) ที่ 25 °C อัตราความเร็ว

   ของเครื่องดึง 5 cm./นาทีไม่น้อยกว่า

cm.

100

กากที่เหลือจากการอบ

6. น้ำหนักสูญเสียไปเมื่อให้ความร้อนไม่เกิน

%

0.8

7. เพนิเทรชั่น ร้อยละของเพนิเทรชั่นเดิมไม่น้อยกว่า

 %

54

8. การยืดดึง (Ductility) ที่ 25 °C อัตราความเร็ว

  ของเครื่องดึง 5 cm./นาที ไม่น้อยกว่า

cm.

50

แอสฟัลต์ซีเมนต์ (Asphalt Cement)

แอสฟัลต์คอนกรีตแอสฟัลต์ซีเมนต์ หรือ ยางมะตอย คือ ผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมโดยเป็นมีลักษณะสีดำหรือ สีน้ำตาลปนดำ มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว ซึ่งมีความเหนียว มีสถานะเป็นของเหลวเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งก่อนจะนำมาใช้ต้องผ่านความร้อนประมาณ 140-150 องศาเซลเซียสก่อน เมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นของแข็งทำให้เป็นวัสดุประสาน น้ำไม่สามารถผ่านและ ยึดเกาะวัสดุต่างๆได้จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำงานทาง หรือ ถนน

Asphalt Cement เรียกย่อ ๆ ได้ว่า AC โดยในประเทศไทยได้แบ่งประเภทตามความแข็ง โดยการวัดเป็นค่า Penetration ซึ่งตรวจสอบได้โดยเอาตัวอย่าง AC ใส่ลงในถ้วยทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. สูง 3-5 ซม. ทดสอบที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แล้วใช้เข็มที่ติดตั้งบนแท่นกดน้ำหนักกด 100 g.เป็นเวลา 5 วินาทีลงบนผิวยางในช่วงเวลาหนึ่ง เข็มจมลงไปเท่าไรก็จะกลายเป็นค่า penetration ของตัวอย่าง AC นั้น โดยจะมีค่าตั้งแต่ 10 ถึง 350 หากได้ค่ายิ่งน้อยแปลว่าเข็มลงไปน้อยแสดงให้เห็นว่ายางมะตอยนั้นมีความแข็ง มากจะหลอมละลายด้วยความร้อนได้ช้ากว่า ซึ่งเวลาใช้งานทำผิวทางต้องนำไปให้ความร้อนเพื่อหลอมละลายเป็นของเหลว เราจึงใช้ตัวนี้เป็นการพิจารณาว่ายางมะตอยในระดับใดที่เหมาะสมกับงานแต่ละชนิด หลัก ๆ กำหนดเป็น 5 ระดับ คือ

AC 40/50

AC 60/70 (เป็นเกรดที่กำลังใช้อยู่ในประเทศไทย)

AC 80/100

AC 120/150

AC 200/300

โดยยางมะตอยในระดับที่มีค่าตัวเลขมากจะแสดงถึงความอ่อนของยางมะตอยที่มากกว่าด้วย ซึ่งระดับ AC 200/300 จะอ่อนที่สุด โดยที่อุณหภูมิห้องเพียงใช้นิ้วกดเบาๆจะเกิดรอยบุ๋มได้ง่าย ในขณะที่ระดับ AC 40/50 นั้นแข็งที่สุด ต้องใช้แรงกดเพิ่มขึ้นจึงจะทำให้เกิดรอย

ซึ่งในประเทศไทยใช้ AC 60/70 เนื่องจากเหมาะกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

 

มาตรฐาน

      – มอก.851/2561  แอสฟัลต์ซีเมนต์สำหรับงานทาง

      – ทล.ม.408/2532  มาตรฐานแอสฟัลต์คอนกรีต (Asphalt Concrete or Hot-mix Asphalt)

 

คุณสมบัติ

เป็นตัวยึดประสานกับวัสดุมวลรวม (Good Binder) คือทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมวัสดุต่างๆ ให้ติดกัน เช่น การผสมยางมะตอยกับหินขนาดต่างๆ เพื่อใช้ทำผิวทาง เป็นต้นป้องกันการไหลซึมผิวทางลงไปทำความเสียหายที่ชั้นพื้นทาง(Good Waterproofing) คือเมื่อวัสดุเคลือบด้วยยางมะตอยแล้ว จะทำหน้าทีป้องกันไม่ให้น้ำจะซึมผ่านไปยังชั้นใต้พื้นทางมีความยืดหยุ่น และทนต่อสภาวะแวดล้อม(Aging Resistance) คือเมื่อทำให้ยางมะตอยเหลวก็สามารถผสมยางมะตอยกับวัสดุต่างๆ ได้ดี และเมื่อลาดยางแล้วจะเย็นลงจนเกิดการแข็งตัว ทำให้คงต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆได้ดี

 

การนำไปใช้งาน

แอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างผิวทาง (Binder Course, Wearing Course)

คือให้ความร้อนยางมะตอยและหินจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องผสมตามอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ แล้วนำไปปูผิวทางตามความหนาที่ต้องการ

งานปรับระดับ (Leveling) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อปรับระดับผิวทางตามระดับที่ต้องการ

งานเสริมผิว (Overlay) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อเสริมผิวทางเพื่อยืดอายุการใช้งานของผิวทาง

ข้อควรระวังและวิธีการจัดเก็บ

อาจลุกติดไฟได้ง่าย ถ้าให้ความร้อนสูงเกิน 232 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิการจัดเก็บแอสฟัลต์ซีเมนต์ในถังเก็บ ไม่ควรสูงเกิน 150 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ

กรณีลุกติดไฟ ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผง โฟม หรือ ทราย ดับแทน

ถังบรรจุต้องสะอาด แห้ง และไม่ปนเปื้อนน้ำมัน หรือน้ำ เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์เปลี่ยนไปหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้

ระหว่างการขนถ่ายสินค้า ควรสวมหมวกนิรภัยพร้อมหน้ากากกันกระเด็น สวมเสื้อแขนยาวหรือปลอกแขนเพื่อป้องกันความร้อนให้รัดกุมและถุงมือหนัง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานหากมีเหตุฉุกเฉิน