• Visit Us On Facebook

NATURAL RUBBER MODIFIED ASPHALT CEMENT (NRMA)

NRMA

แอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ 

Natural Rubber Modified Asphalt Cement  NRMA

โซล่าแอสฟัลท์ดำเนินนโยบายควบคู่กับกรมทางหลวงโดยนำแอสฟัลต์ซีเมนต์ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราจากธรรมชาติ ภายใต้กระบวนการผลิตที่ทันสมัยเพื่อทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การใช้ยางพาราธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรสำคัญภายในประเทศไทยเป็นสารผสมเพื่อใช้ในงานทางนั้น สามารถช่วยปรับปรุงให้พื้นผิวถนนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ NRMA (ผิวทางแอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ) มีความยืดหยุ่น มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักและการจราจรได้มากกว่าผิวทางแอสฟัลต์ (Asphalt Cement  60/70) ธรรมดา นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณสมบัติในด้านการต้านทานการลื่นไถล (Skid Resistance) และ เพิ่มอายุการใช้งานของถนนอีกด้วย

มาตรฐาน

มอก.2731-2559  แอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ adobe-pdf1-01

ทล.ม.416/2556  มาตรฐานแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ

(Natural Rubber Modified Asphalt Concrete)

 

การนำไปใช้งาน

แอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างผิวทาง  (Wearing Course)

คือให้ความร้อนยางมะตอยและหินจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องผสม (Mixing Plant) ตามอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ แล้วนำไปปูผิวทางตามความหนาที่ต้องการ

งานปรับระดับ (Leveling) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อปรับระดับผิวทางตามระดับที่ต้องการ

งานเสริมผิว (Overlay) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อเสริมผิวทางเพื่อยืดอายุการใช้งานของผิวทาง

Specification

 

 คุณลักษณะที่ต้องการ  หน่วย  มาตรฐานที่กำหนด
1. เพนิเทรชั่น (Penetration) ที่ 25 °C

     น้ำหนักกด 100 g. เวลา 5 วินาที

0.1 mm.

50-70

2. ความต้านทานแรงเฉือนไดนามิกจี

     */sin ð,ที่ 70 °C,10 rad/s ไม่น้อยกว่า

KPc

1.0

3. Softening Point ไม่น้อยกว่า

°C

 50

4. Elastic Recovery ที่ 25 °C ไม่น้อยกว่า

%

40

5. Brookfield viscosity, shear rate18.6 s-1,

     spindle 21 ที่ 150 °C

cP

200-600

6. เสถียรภาพต่อการเก็บที่ 24 ชม. ที่

     อุณหภูมิ 163 °C ค่าความแตกต่างระหว่าง

     Softening Point ไม่มากกว่า

°C

4

7. จุดวาบไฟไม่น้อยกว่า

 °C

220

8. Rubber Content ไม่น้อยกว่า

% wt

5.0

9. กากที่เหลือจากการอบ Thin Film

     Effect of Heat (TFOT) ไม่เกิน

% wt.

1.0

10. เพนิเทรชั่น (Penetration) ที่ 25 °C

     น้ำหนักกด 100 g. เวลา 5 วินาที

     0.1 mm. ร้อยละของเดิมไม่น้อยกว่า

%

60

11. Softening Point แตกต่างไปจากเดิมไม่เกิน

°C

+6

12. Elastic Recovery @ 25 °C ที่ระยะ10 cm. ไม่น้อยกว่า

%

25

คุณสมบัติ

1. เพนิเทรชันและจุดอ่อนตัวยางแอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพารา จะมี

  คุณสมบัติที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิลดน้อยลง

2. ค่า Dynamic Shear Modulus ที่มีค่าสูงขึ้น จะมีคุณสมบัติในด้าน Rheology ดีขึ้น

3. ค่าจุดอ่อนตัวและค่าความหนืด Brookfield ที่สูงขึ้นยางแอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพารา     จะมีคุณสมบัติด้าน การบิดงอและการยืดหยุ่น (Viscoelastic) ดีขึ้น

4. ค่า Elastic Recovery ที่มีค่าสูงขึ้น จะมีคุณสมบัติเพิ่มความสามารถในการดูดซับได้โดยไม่แตก       หรือเสียรูป เป็นการเพิ่ม Fatigue Resistance

 

ข้อเสนอแนะและวิธีการจัดเก็บ

อาจลุกติดไฟได้ง่าย ถ้าให้ความร้อนสูงเกิน

อุณหภูมิการจัดเก็บแอสฟัลต์ซีเมนต์ในถังเก็บ ไม่ควรสูงเกิน 150 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ

ถังบรรจุต้องสะอาด แห้ง และไม่ปนเปื้อนน้ำมัน หรือน้ำ เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์เปลี่ยนไปหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้

ระหว่างการขนถ่ายสินค้า ควรสวมหมวกนิรภัยพร้อมหน้ากากกันกระเด็น สวมเสื้อแขนยาวหรือปลอกแขนเพื่อป้องกันความร้อนให้รัดกุมและถุงมือหนัง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานหากมีเหตุฉุกเฉิน

กรณีลุกติดไฟ ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผง โฟม ทราย ดับแทน

ควรควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ขณะผสมไม่ให้เกิด 180 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ยางสูญเสียคุณสมบัติของยางพาราได้

ควรระวังไม่ให้อุณหภูมิของแอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมยางพารา ลดลงต่ำมากเพราะจะทำอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้ยาก