โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์คือ ยางแอสฟัลต์ซีเมนต์เกรดพิเศษ ที่ได้จากการผสม ระหว่างโพลีเมอร์ (POLYMER) กับ แอสฟัลต์ซีเมนต์(ASPHALT CEMENT) รวมทั้ง Additive ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบ โดยเฉพาะ
สารโพลีเมอร์ที่ใช้ผสม ได้แก่
SBS (STYRENE BUTADIENE STYRENE) มีคุณสมบัติให้ความยืดหยุ่นได้ดี (Elastomer)
EVA (ETHYLENE VINYL ACETATE) คุณสมบัติให้มีความแข็งแบบ Plastic (Plastomer)
สารโพลีเมอร์อื่น เพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆตามต้องการ เช่น Tensile Strength เป็นต้น
ซึ่งเมื่อนำมาผสมเป็นผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต(Hot Mix Asphalt) จะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตทั่วไปคือมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นดังกล่าวทำให้เมื่อนำมาใช้ทำผิวถนนแล้ว ทำให้ถนนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์ธรรมดา
มาตรฐาน
มอก.2156/2547 โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์สำหรับงานทาง
ทล.ม.409/2549 มาตรฐานมอดิฟายด์แอสฟัลต์คอนกรีต (Modified Asphalt Concrete)
คุณสมบัติ
1. มีความต้านทานต่อการล้า (Fatigue resistance) ที่ดีกว่าคือ Elasticity ความยืดหยุ่นของ Polymer Modified Asphalt มีสูงมาก กล่าวคือมีค่า Tensional Recovery ที่ อุณหภูมิ 25 °c ประมาณ 80% ในขณะที่ AC 60-70 มีค่าเพียง 0-2 % ส่งผลให้ Polymer Modified Asphalt มี Flexibility สูง ช่วยแก้ปัญหาเกิดการล้า (Fatigue) ในผิวทางได้
2. มีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวร (Pavement Deformation) คือ
ค่า Penetration ความแข็งของ Polymer Modified Asphalt และ AC ที่อุณหภูมิ 25°c มีค่าเท่ากัน แต่ค่า Viscosity ความหนืดของ Polymer Modified Asphalt จะสูงกว่ายาง AC 60-70 ดังนั้น Polymer Modified Asphalt จึง แข็งแรงรับน้ำหนักได้สูงกว่าและไม่เสียรูปร่างได้ง่าย
3. มีความยืดหยุ่นสูงที่อุณหภูมิต่ำมาก หรือสูงมาก (Temperature Susceptibility) คือการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ค่า PI สูง ทำให้ไม่เกิดการอ่อนตัวมากเมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลให้ไม่เกิดร่องล้อหรือเสียรูปร่างแต่ในทางกลับกันที่อุณหภูมิต่ำ Polymer Modified Asphalt ก็จะไม่แข็งเปราะจนทําให้ผิวทางเกิดการแตกร้าว
4. มีความต้านทานต่อการบิดตัว ระหว่างวัสดุมวลรวม กับวัสดุเชื่อมและความต้านทานต่อการหลุดลอก (Stripping resistance) ที่ดีกว่าคือ Cohesion แรงยึดเหนี่ยวใน Polymer Modified Asphalt มีสูงมาก ส่งผลให้ค่า Tensile Strength สูงตามเพราะ สามารถยึดมวลรวมได้ดีกว่าดังนั้นจึงมีค่า Toughness ไม่น้อยกว่า 200 กก. – ซม. ซึ่งสูงกว่ายาง AC 60-70 มากจึงไม่เกิด ปัญหาผิวทางสึกกร่อนแบบ Raveling
5. ไม่มีการไหลเยิ้ม (Bleeding resistance) ของวัสดุเชื่อมประสานคือ Softening Point จุดอ่อนตัวของยาง Polymer Modified Asphalt สูงประมาณ 88°c ซึ่งสูงกว่า AC 60-70 ซึ่ง อยู่ที่ 45-48 °c จึงทําให้โอกาสเกิดปัญหายางเยิ้มที่ผิวทางจราจรได้ยากกว่าปกติ
การนำไปใช้งาน
แอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างผิวทาง (Binder Course, Wearing Course)
คือให้ความร้อนยางมะตอยและหินจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องผสมตามอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ แล้วนำไปปูผิวทางตามความหนาที่ต้องการ
งานปรับระดับ (leveling) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีตไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อปรับระดับผิวทางตามระดับที่ต้องการ
งานเสริมผิว (overlay) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อเสริมผิวทางเพื่อยืดอายุการใช้งานของผิวทาง
ข้อเสนอแนะและวิธีการจัดเก็บ
อาจลุกติดไฟได้ง่าย ถ้าให้ความร้อนสูงเกิน
อุณหภูมิการจัดเก็บแอสฟัลต์ซีเมนต์ในถังเก็บ ไม่ควรสูงเกิน 150 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ
ถังบรรจุต้องสะอาด แห้ง และไม่ปนเปื้อนน้ำมัน หรือน้ำ เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์เปลี่ยนไปหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้
ระหว่างการขนถ่ายสินค้า ควรสวมหมวกนิรภัยพร้อมหน้ากากกันกระเด็น สวมเสื้อแขนยาวหรือปลอกแขนเพื่อป้องกันความร้อนให้รัดกุมและถุงมือหนัง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานหากมีเหตุฉุกเฉิน
กรณีลุกติดไฟ ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผง โฟม ทราบ ดับแทน